Digital Audio Professional

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500  (อ่าน 194629 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 25 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

DIGITCLASS™

  • เจ้าของกิจการ
  • Hero Member
  • *****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1740
  • ดิจิตอลสวิตชิ่งตัวจริง
Re: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2012, 10:52:52:AM »

ก่อนที่เราจะทำการทดสอบเบื้องต้นกัน เรามาทำความรู้จักกับหัวใจหลักของพาวเวอร์ซัพพลายชุดนี้กันก่อนครับ นั้นคือ บอร์ด DPWM-07 เป็นบอร์ดขนาดเล็กควบคุมการทำงานทั้งหมดด้วยดิจิตอลไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) ตัวจิ๋ว.. แต่โครงสร้างภายในและประสิทธิภาพนั้นไม่ได้จิ๋วไปตามขนาดของตัวมัน ภายในประกอบด้วยโมดูลต่างๆมากมายกว่าร้อยโมดูล จะสังเกตุเห็นว่าอุปกรณ์บนบอร์ดนั้นประกอบด้วยอุปกรณ์เพียงไม่กี่ชิ้น นั้นก็เป็นเพราะวงจรต่างๆถูกอัดเข้าไปอยู่ใน ดิจิตอลไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) ตัวจิ๋วนี้ ในรูปแบบของโมดูลและโปรแกรมคำสั่งคอมพิวเตอร์ เช่น โมดูล PWM ,Soft-Start AC/DC, ระบบตรวจสอบกระแสเกินอัตโนมัติ ฯลฯ จึงช่วยลดจำนวนชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างมากมาย  :sunglasses2:

บันทึกการเข้า
อธิธัช ศุภโชคธนโชติ (ทิวา)
บริษัท ดิจิทคลาส จำกัด
7/102 หมู่ 2 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

DIGITCLASS™

  • เจ้าของกิจการ
  • Hero Member
  • *****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1740
  • ดิจิตอลสวิตชิ่งตัวจริง
Re: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2012, 12:00:09:PM »

มีอุปกรณ์เพียง 1 ตัวเท่านั้นที่ท่านอาจจะต้องทำการปรับจูนหรือปรับแต่งให้พอดีกับการใช้งานของท่าน นั้นคือ R สำหรับปรับค่าความไวของภาคตรวจสอบกระแสเกิน ค่าจะอยู่ระหว่าง 22K-56K สูงสุดคือค่า 56K ครับอย่าใส่เกินค่านี้
ในการปรับค่าความไวของภาคตรวจสอบกระแสเกินนั้น ถ้าเราตั้งไว้สูงเกินไป หากเกิดการลัดวงจรทางด้านเอาท์พุตหรือพาวเวอร์แอมป์ของเราช็อต ระบบโปรเทคชั่นจะไม่สามารถตรวจสอบกระแสเกินนี้ได้จะทำให้ IGBT เกิดการพังเสียหายได้ครับ แต่หากเราตั้งค่าไว้ต่ำเกินไป จะทำให้ระบบตัดการทำงานเร็วเกินไป เกิดอาการตัดๆต่อๆเวลาเปิดกับลำโพงโอห์มต่ำครับ ให้ท่านใส่ R ค่าต่ำไว้ก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มค่าขึ้นไปเรื่อยๆ ปรกติผมจะใส่ค่า 30-33K ซึ่งสามารถขับโหลดลำโพงได้ 2.66 โอห์มต่อข้างได้โดยสวิตชิ่งไม่ตัดและซ๊อตเอาท์พุตไม่พังเสียหาย ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการพันหม้อแปลงและแรงดันเอาท์พุตที่ใช้งาน เวลาทดสอบโหลดอย่าไปทดสอบกับ หลอดไฟ เตารีด อะไรต่างๆพวกนั้น แนะนำให้ท่านทดสอบกับพาวเวอร์แอมป์และก็ลำโพงของจริงครับ
บันทึกการเข้า
อธิธัช ศุภโชคธนโชติ (ทิวา)
บริษัท ดิจิทคลาส จำกัด
7/102 หมู่ 2 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

DIGITCLASS™

  • เจ้าของกิจการ
  • Hero Member
  • *****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1740
  • ดิจิตอลสวิตชิ่งตัวจริง
Re: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2012, 12:32:08:PM »

เอาละครับ ได้รู้จักกับบอร์ด DPWM-07 กันไปแล้ว ขั้นตอนต่อมาเราจะทำการวัดไฟเลี้ยงบอร์ด DPWM-07 กัน ซึ่งไฟเลี้ยงของบอร์ดนี้ต้องอยู่ประมาณ 12-18V DC
15.ไฟเลี้ยงบอร์ด DPWM-07 จะใช้ไฟจากบอร์ด SHV-375 ซึ่งตัว SHV-375 นี้ก็จะทำงานคล้ายๆกับ IC 7815 ที่เราคุ้นเคยกันนั้นแหละครับ เพียงแต่ว่า SHV-375 นี้จะรับไฟอินพุตได้สูงถึง 375V เลยทีเดียว ดังนั้นเราจึงนำเอาไปลดแรงดันไฟบ้านแปลงเป็น DC แล้วจาก 310V ให้เหลือ 15V จ่ายให้กับบอร์ด DPWM-07ได้เลย :thumbsup:
บันทึกการเข้า
อธิธัช ศุภโชคธนโชติ (ทิวา)
บริษัท ดิจิทคลาส จำกัด
7/102 หมู่ 2 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

DIGITCLASS™

  • เจ้าของกิจการ
  • Hero Member
  • *****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1740
  • ดิจิตอลสวิตชิ่งตัวจริง
Re: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2012, 02:23:57:PM »

16.ขั้นตอนการทดสอบนี้เราจะยังไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับไฟบ้าน 220V โดยตรงนะครับ เพื่อความปลอดภัยของตัวเรา และช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดจากความผิดพลาดของเราเอง เช่น ลงอุปกรณ์ไม่ถูกค่า กลับขั้ว ฯลฯ ซึ่งเราจะใช้ตัวช่วยครับ ช่วยลดแรงดันไฟบ้านลงให้เหลือแรงดันต่ำๆ ซึ่งนั้นก็คือ หม้อแปลง ให้ท่านหาหม้อแปลงตัวเล็กๆ สักตัวนึง ไฟออกประมาณ 48-80V ประมาณนี้ แรงดันไฟขนาดนี้แม้เกิดอุบัติเหตุขึ้นก็ไม่ร้ายแรง ถ้าเกิดไฟดูดระหว่างขั้นตอนการวัดไฟก็แค่คันๆ  :13_: หรือถ้าเกิดความผิดพลาดจากการลงอุปกรณ์หรืออื่นๆ ก็ไม่เกิดความเสียหายลุกลามมากเท่ากับต่อกับไฟ 220V โดยตรง ตัวอย่าง ผมใช้หม้อแปลง 31-0-31 ผมเลือกใช้ขด 31-31 ก็จะได้ไฟ AC 62V จ่ายแทนไฟ 220V ครับ
บันทึกการเข้า
อธิธัช ศุภโชคธนโชติ (ทิวา)
บริษัท ดิจิทคลาส จำกัด
7/102 หมู่ 2 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

DIGITCLASS™

  • เจ้าของกิจการ
  • Hero Member
  • *****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1740
  • ดิจิตอลสวิตชิ่งตัวจริง
Re: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2012, 02:25:51:PM »

17.ก่อนจ่ายไฟเข้าบอร์ดทุกครั้งให้ท่านตรวจสอบความถูกต้องในการลงอุปกรณ์ต่างๆให้เรียบร้อย ขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องใส่บอร์ด DPWM-07 และ IGBT นะครับ เราจะทำการวัดไฟเลี้ยง 15V ก่อน ให้จ่ายไฟเข้าไปที่บอร์ด
จากนั้นวัดแรงดันที่คร่อมขาของ C 330uF/25V จะต้องได้แรงดันประมาณ 15V โดยการพลิกด้านลายทองแดงของบอร์ดขึ้นมาแล้วทำการวัดแรงดันครับ
บันทึกการเข้า
อธิธัช ศุภโชคธนโชติ (ทิวา)
บริษัท ดิจิทคลาส จำกัด
7/102 หมู่ 2 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

DIGITCLASS™

  • เจ้าของกิจการ
  • Hero Member
  • *****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1740
  • ดิจิตอลสวิตชิ่งตัวจริง
Re: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2012, 02:27:10:PM »

18.เมื่อเราวัดแรงดันไฟเลี้ยง 15V ได้แล้ว จากนั้นให้ปลดไฟที่จ่ายเข้าบอร์ดออก รอจนกว่า C จะคายประจุหมด  เมื่อ C จะคายประจุหมดแล้ว ให้ใส่บอร์ด DPWM-07 และ IGBT ลงไปในบอร์ดใหญ่ ส่วน IGBT นั้นให้หาหน่วยกล้าตาย
เบอร์ที่มีราคาถูกๆ ทดสอบแทนตัวจริงที่มีราคาแพงก่อน เพราะถ้าใส่ตัวจริงเข้าไปเลยหากเกิดการผิดพลาดอาจจะทำให้ท่านสูญเงินไปเปล่าๆ ตัวอย่างผมใช้เบอร์ RJP63F3  ตัวละ 20 บาท :ok:
บันทึกการเข้า
อธิธัช ศุภโชคธนโชติ (ทิวา)
บริษัท ดิจิทคลาส จำกัด
7/102 หมู่ 2 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

DIGITCLASS™

  • เจ้าของกิจการ
  • Hero Member
  • *****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1740
  • ดิจิตอลสวิตชิ่งตัวจริง
Re: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2012, 02:44:40:PM »

19.จากนั้นจ่ายไฟจากหม้อแปลงตัวเดิมเข้าที่บอร์ด สังเกตุความผิดปรกติ เช่น เสียง กลิ่น ควัน.. :63:  หากเกิดความผิดปรกติตามที่กล่าวมาให้รีบปิดสวิตซ์ไฟแล้วทำการแก้ไขให้เรียบร้อย หากทุกอย่างปรกติเมื่อจ่ายไฟเข้าบอร์ดประมาณ 1-2 วินาที จะได้ยินเสียงรีเลย์ทำงาน..แตร๊ก.!! 1 ครั้ง พร้อมกับไฟ LED ติดสว่างขึ้นมา.. :police25: :police25: :police25:
ทำการวัดแรงดันไฟออกต้องได้ค่าตามที่เราคำนวณไว้ตามสูตรในขั้นตอนต้นๆ อย่าลืมเอาแรงดันไฟออกของหม้อแปลงที่เราจ่ายไฟเข้าบอร์ดไปแทนค่าในสูตร แทนไฟ 220V ด้วยนะครับ
ตัวอย่าง ผมพันไฟออก +/-95V ที่ไฟบ้าน 230V  เมื่อผมจ่ายไฟให้บอร์ด 62V ผมต้องวัดแรงดันไฟออกได้ +/-25.5V ครับ เมื่อได้ทุกอย่างตามนี้แล้ว เราถือว่าเราเดินทางมาได้ 90% แล้วครับ... :police25: :police25: :police25: :police25: :police25: :thumbsup: :thumbsup: :icon14:
บันทึกการเข้า
อธิธัช ศุภโชคธนโชติ (ทิวา)
บริษัท ดิจิทคลาส จำกัด
7/102 หมู่ 2 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

DIGITCLASS™

  • เจ้าของกิจการ
  • Hero Member
  • *****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1740
  • ดิจิตอลสวิตชิ่งตัวจริง
Re: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2012, 02:50:46:PM »

จะสังเกตุได้ว่าสวิตชิ่งตัวนี้สามารถทำงานที่แรงดันไฟ AC ต่ำๆได้ จึงไม่ต้องกังวลว่ามันจะงอแงไม่ยอมทำงานในพื้นที่ที่ไฟตกมากๆ (คงไม่ตกถึง 40V เป็แน่แท้ :63:)
ต่อไปจะเป็นการทดสอบกับไฟสูงกันครับ.....โปรดติดตามตอนต่อไป....... :62:
บันทึกการเข้า
อธิธัช ศุภโชคธนโชติ (ทิวา)
บริษัท ดิจิทคลาส จำกัด
7/102 หมู่ 2 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

ampmanage

  • Jr. Member
  • **
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 52
Re: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2012, 10:42:10:PM »

น่าลองครับพี่ ออกมาเร็วๆน้ะครับ เอาสัก1ชุด เห็นแล้วน้ำลายหก :64:
บันทึกการเข้า
นายทศพร ลิ้มไพเราะ 60/3 ม.2 ต.โคกหม้อ อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 080-6546446

be_audio

  • VIP1
  • Full Member
  • ***
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 121
  • Boos Be_Audio
    • www.facebook.com/beaudio.thailand
Re: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2012, 02:36:30:PM »

 :((dtfm2)): :afro: :afro: :25: :25: :8_: :8_: :1dd01:
บันทึกการเข้า

นาย ศรายุทธ อินทร์พรม
1/5 ม.6 ต.สามง่าม อ.สามง่าม จ.พิจิตร 66140  082-7082414
 เลขที่บัญชี 020037103155 ธนาคารออมสินสาขาสามง่าม
 ชื่อบัญชี ศรายุทธ อินทร์พรม (Sarayoot Inprom)

ubonnakhon

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29
Re: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500
« ตอบกลับ #40 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2012, 03:24:27:PM »

มาแขวนเปล...รอจะลองสัก2อัน..อีกนานไหมครับ
บันทึกการเข้า
ประดิษฐ์ คำนาโฮม
ร้านซ่อมเครื่องเสียงซอยข้างโรงเรียนน้ำยืน ม.10 ต.สีวิเชียร อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี 34260
โทร 088-3605232

DIGITCLASS™

  • เจ้าของกิจการ
  • Hero Member
  • *****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1740
  • ดิจิตอลสวิตชิ่งตัวจริง
Re: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500
« ตอบกลับ #41 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2012, 04:22:02:PM »

มาถึงโค้งสุดท้ายตอนจบกันแล้วครับ.. :secret:
20.ยึด IGBT และ DIODE เข้ากับฮีตซิ้งค์ให้เรียบร้อย อย่าลืมรองแผ่นยางซิลิโคนและทาครีมซิลิโคนระบายความร้อนด้วยนะครับ
ใช้มิเตอร์ตั้งย่านวัดโอห์ม วัดดูระหว่างขา IGBT และขา DIODE กับฮีตซิ้งค์ว่ามีการช็อตลงซิ้งค์หรือไม่ ถ้าซ็อตให้ทำการแก้ไขให้เรียบร้อย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 15, 2012, 05:00:42:PM โดย DIGITCLASS™ »
บันทึกการเข้า
อธิธัช ศุภโชคธนโชติ (ทิวา)
บริษัท ดิจิทคลาส จำกัด
7/102 หมู่ 2 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

DIGITCLASS™

  • เจ้าของกิจการ
  • Hero Member
  • *****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1740
  • ดิจิตอลสวิตชิ่งตัวจริง
Re: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500
« ตอบกลับ #42 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2012, 04:28:01:PM »

21. จากนั้นถอด IGBT ตัวทดสอบออกจากบอร์ดแล้วนำ IGBT และ DIODE ที่ยึดเข้ากับฮีดซิ้งค์ไว้ในขั้นตอนที่แล้ว มายึดเข้ากับบอร์ดและบัดกรีให้เรียบร้อย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 15, 2012, 04:33:15:PM โดย DIGITCLASS™ »
บันทึกการเข้า
อธิธัช ศุภโชคธนโชติ (ทิวา)
บริษัท ดิจิทคลาส จำกัด
7/102 หมู่ 2 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

DIGITCLASS™

  • เจ้าของกิจการ
  • Hero Member
  • *****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1740
  • ดิจิตอลสวิตชิ่งตัวจริง
Re: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500
« ตอบกลับ #43 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2012, 04:57:56:PM »

22.ติดตั้งพัดลมระบายความร้อนให้เรียบร้อย สายสีแดงของพัดลมคือขั้วบวก สีดำคือขั้วลบ ถ้านำไปใช้งานในบ้านไม่หนักมากอาจไม่จำเป็นต้องติดพัดลมระบายความร้อนก็ได้ครับ
เมื่อเราทดสอบกับไฟต่ำเรียบร้อยในขั้นตอนที่แล้วมา ในการทดสอบกับไฟบ้าน 220V ก็ย่อมไม่มีปัญหาใดๆเกิดขึ้นอย่างแน่นนอน ให้ท่านตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งก่อนจ่ายไฟ 220V เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยให้จ่ายไฟเข้าบอร์ดได้เลย  หากทุกอย่างปรกติเมื่อจ่ายไฟเข้าบอร์ดประมาณ 1-2 วินาที จะได้ยินเสียงรีเลย์ทำงาน..แตร๊ก.!! 1 ครั้ง พร้อมกับไฟ LED ติดสว่างขึ้นมา..  :thumbsup:  ทำการวัดไฟออกตามจุดต่างๆ ไฟหลักบวก กราวด์ ลบ, ไฟย่อย, ไฟเลี้ยงพัดลม  ขั้นตอนสุดท้ายก็เหลือแค่การนำไปทดสอบกับบอร์ดพาวเวอร์แอมป์และลำโพงของท่านเพื่อทำการการปรับค่า R สำหรับปรับค่าความไวของภาคตรวจสอบกระแสเกิน การปรับค่า R ได้อธิบายไว้แล้วในขั้นตอนที่ผ่านมา หรือถ้าท่านใดไม่อยากปรับแต่งก็ใช้ค่าที่ติดไปกับบอร์ดได้ เพราะเป็นค่ากลางๆไม่สูงมากไม่ต่ำมาก  ท้ายนี้ก็ขอให้ท่านมีความสุขกับการประกอบสวิตชิ่งพาวเวอร์ซัพพลายตัวนี้ด้วยฝีมือเราเอง หากมีข้อสงสัยก็สามารถโทรสอบถามได้ที่เบอร์ตามลายเซนต์ได้เลยครับ
ขอบคุณครับ
 :01:
บันทึกการเข้า
อธิธัช ศุภโชคธนโชติ (ทิวา)
บริษัท ดิจิทคลาส จำกัด
7/102 หมู่ 2 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

seesuk3055

  • VIP1
  • Jr. Member
  • ***
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 69
Re: การประกอบชุดคิตสวิตชิ่ง DHV2500
« ตอบกลับ #44 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2012, 09:26:22:PM »

ขอทราบราคาชุดคิทและแผ่นปลิ๊นด้วยครับ  :1dd01:
บันทึกการเข้า
สุพจน์ สีสุข
    ที่ว่าการอำเภอชนแดน อ.ชนแดน จ.เพชรบรณ์
                        67150
    โทร 081-6040719

http://seesuk3055.jap2success.com
 

หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.228 วินาที กับ 21 คำสั่ง